กามโภคี..ขั้นเลิศ

4 มี.ค. 55 / 1830 อ่าน

พุทธพจน์ คหบดี ! ในบรรดากามโภคี (ฆราวาส) เหล่านั้นกามโภคีผู้ ใด แสวงหาโภคทรัพย์โดยธรรม โดยไม่เครียดครัดด้วย, ครั้นแสวงหาโภคทรัพย์โดยธรรม โดยไม่เครียดครัดแล้ว ทําตนให้เป็นสุข ให้อิ่มหนําด้วย, แบ่งปันโภคทรัพย์บําเพ็ญบุญด้วย, ไม่กําหนัดไม่มัวเมา ไม่ลุ่มหลง มีปกตเิห็นโทษ มีปัญญาเป็น เครื่องสลัดออก บริโภคโภคทรัพย์เหล่านั้นอยู่ด้วย;   คหบดี ! กามโภคีผู้นี้ ควรสรรเสริญโดย ฐานะทั้งสี่ คือ :- ควรสรรเสริญโดย ฐานะที่หนึ่ง ในข้อที่เขา แสวงหาโภคทรัพย์โดยธรรม โดยไม่เครียดครัด, ควรสรรเสริญโดย ฐานะที่สอง ในข้อที่เขา ทําตนให้เป็นสุขให้อิ่มหนํา, ควรสรรเสริญโดย ฐานะที่สาม ในข้อที่เขา แบ่งปันโภคทรัพย์บําเพ็ญบุญ, ควรสรรเสริญโดย ฐานะที่สี่ ในข้อที่เขา ไม่กําหนัด ไม่มัวเมา ไม่ลุ่มหลง มีปกติเห็นโทษ มีปัญญา เป็นเครื่องสลัดออก บริโภคโภคทรัพย์เหล่านั้น.   คหบดี ! กามโภคีผู้นี้ควรสรรเสริญโดยฐานะ ทั้งสี่เหล่านี้ คหบดี ! กามโภคีจําพวกนี้ เป็นกามโภคีชั้นเลิศ ชั้นประเสริฐ ชั้นหัวหน้า ชั้นสูงสุดชั้นบวรกว่ากามโภคี ทั้งหลาย, เปรียบเสมือนนมสดเกิดจากแม่โค นมส้มเกิดจาก นมสด เนยข้นเกิดจากนมส้ม เนยใสเกิดจากเนยข้น หัวเนยใสเกิดจากเนยใส; หัวเนยใสปรากฏว่าเลิศกว่าบรรดารสอันเกิดจากโคทั้งหลายเหล่านั้น, ข้อนี้ฉันใด; กามโภคีจําพวกนี้ ก็ปรากฏว่าเลิศกว่า บรรดากามโภคีทั้งหลายเหล่านั้น ฉันนั้น แล.   อ่านพุทธพจน์บทนี้ ประเด็นที่เราเห็นก็คือความเป็นกามโภคีชั้นเลิศ ก็คือผู้บริโภคกามที่ดีกว่าผู้บริโภคกาม 7,000 ล้านคน ซึ่งอาจจะทำงานด้วยความเครียด มีเงินเป็นจุดมุ่งหมาย สร้างสมตัวกู ของกูแบบไม่ลืมหูลืมตา ในข้อที่รู้จักทำตนให้อิ่มหนำ ก็เพราะจะเห็นคนรวยที่หาแต่เงินบ้าตัวเลขในธนาคารนั้น บางคนมีความตระหนี่จัดจะทำอะไร จะกินอะไรก็กระเหม็ดกระแหม่จนเกิดเหตุ (พวกกินตามใจปากอย่าเพิ่งยิ้ม) ส่วนรู้จักแบ่งปันบำเพ็ญบุญนั้น ย่อมดีแน่นอน และไม่หลงไหลในทรัพย์จนเกินไปเพราะนั่นจะทำให้เกิดการยึดติดอย่างเหนียวแน่น ลักษณะ อย่างนี้ดูเหมือนผู้ที่พอจะเข้ามาทางเสันทางธรรมบ้างกำลังกระทำกันอยู่ นั่นเริ่มเป็นสัญญาณที่ดี อย่าเข้าใจผิดว่าไม่ดีนะ การทำกุศลแบ่งปันทำทานนั่นดี อยู่แล้ว แต่แน่ใจนะว่าชาตินี้มีคำสอนของอริยมรรคมีองค์๘ เส้นทางสู้อริยชนสู่ความหลุดพ้นแต่แล้วแต่เราเลือกที่จะเป็นเพียง กามโภคี (ชั้นเลิศ)นั่น เป็นเพียงมีความเป็นเลิศกว่ากามโภคี(ผู้บริโภคกาม)ทั้งปวง 7,000 ล้านคน พระพุทธเจ้าเคยเปรียบการประกาศธรรมของท่านเสมือนการบรรลือสีหนาทของพระยา ราชสีห์ ดังนั้นพระโสดาบันอาจจะเป็นหางราชสีห์ ส่วนกามโภคีชั้นเลิศ คงเป็นหัวแถวของสัตว์อะไรสักอย่าง   ระหว่างกามโภคี ชั้นดี (ซึ่งไม่ต้องให้ใครแปลให้เลยแปลเองก็ได้เพราะมันชัดมาก โภคทรัพย์คือทรัพย์ที่มีไว้บริโภค กามโภคีก็ผู้บริโภคกามนั่น แหละ)กับอริยชนในลำดับแรกคือพระโสดาบัน ซึ่งเป็นผู้เดินตามมรรค (มัคคานุคา) นั้นเพียงมรรคองค์ที่๒ ก็ถูกแยกขั้นออกจากกันแล้ว เนกขัมมะออกจากกามนั่นก็ค่อนข้างชัดแล้วว่าไม่ใช่คนเดียวกันกับผู้ที่ปลาบ ปลื้มอยู่กับกามอย่างแน่นอน ดูให้ออก เข้าใจให้ถูก   หลายคนพยายามบิดเบือนด้วยคำสอนของพระพุทธองค์หรือปลอบใจตนเองก็ตาม โดยพยายามทำให้พระโสดาบันให้เป็นกามโภคี หรือไม่ก็ทำกามโภคีให้ เป็นพระโสดาบัน แล้วอ้างนางวิสาขาบ้าง อนาถบิณฑิกเศรษฐีบ้างก็ยังมีครอบครัวอยู่กับทรัพย์ ; เพราะการเนกขัมมะนั้นเป็นพรากออกด้วยกาย เพื่อให้ใจพรากออกในที่สุด หรือพรากออกด้วยใจ คือถอนความพอใจในกามนั้นแล้วยังคงต้องใข้สิ่งนั้นๆเท่าที่จำเป็น   หากใครก็ตามเป็นกามโภคี(ชั้น เลิศ) แล้วต้องการจะก้าวเข้าสู่ความเป็นโสดาบัน ต้องมีปัญญารู้ว่า กามมีโทษมาก ใช้มากติดมาก หากจำเป็นต้องใช้ต้องทำในใจไว้ซึ่งอริยสัจ รู้ว่านี้ทุกข์ นี้เหตุให้เกิดทุกข์ อย่างนี้พอไหว จะได้ไม่หลงใช้สุดตัวสุดใจ หากใช้อยู่ก็ใช้แบบน้ำโคลนกลิ้งบนใบบัว ไม่ใช่น้ำโคลนไหลลงทิชชู เพราะอาการจะออกมาให้เห็นชัดเจนว่า ผู้นั้นย่อมเพลิดเพลิน ย่อมพร่ำสรรเสริญ ย่อมเมาหมกอยู่ซึ่งสิ่งนั้นๆ   หาก ผู้ใดรู้ว่าสิ่งเกิด-ดับเป็นทุกข์ (โดยเป็นผู้มีศีลบริบูรณ์ดีเป็นที่สรรเสริญของเหล่าพระอริยเจ้าแล้ว) ก็จะเห็นได้ด้วยตนเองว่าไม่มีอะไรไม่เกิด-ดับเลยทั้งโลกทั้งจักรวาล ใจจะไม่ไปยึดสิ่งนั้นหรอก เพียงใช้หากต้องใช้เท่านั้น พระโสดาบันจะไม่เห็นว่าอันนี้ทำให้ฉัน ทุกข์ อันนี้ทำให้ฉันสุข ดังนั้นฉันจะเอาอันนี้ไว้ไม่เอาอันโน้น ได้อันนี้ฉันสุข ไม่ได้อันนั้นฉันทุกข์ ซึ่งมันเป็นไปไม่ได้เลยสำหรับผู้ที่ละความเห็นผิดในความเป็นตัวตน ส่วนใครเห็นว่าตอนนี้ฉันก็มีความสุขดี นั่นก็แค่ทุกอย่างรอบๆตัวมันเป็นไปดั่งใจ พอมันไม่เป็นไปดั่งใจมันก็เป็นทุกข์ขึ้นมาอีก สุขอยู่ได้แค่ชั่วคราวแล้วก็กลับทุกข์ขึ้นมา ทุกข์สักพักเดี๋ยวก็ชินกับสภาพใหม่พอจะโอเคก็รู้สึกดีอีกยึดสภาพใหม่อีก เดี๋ยวเหตุปัจจัยมันเปลี่ยนอีกผลก็ไม่เป็นไปดั่งใจก็ทุกข์อีก อย่างนี้ไม่เห็นอริยสัจ ถ้าไม่เห็นอริยสัจว่าอะไรเป็นทุกข์ อะไรเป็นเหตุ ใจก็จะร้อนรนไม่มีหยุดหย่อน แถมน่าสงสารคือทุกข์อยู่แต่ไม่รู้ว่าทุกข์   หากเรายังหลงอยากให้สรรพสิ่งต่างๆเป็นไปดั่งใจ (นิจจัง) ถ้ามีอะไรเปลี่ยนแปลงก็เป็นทุกข์ เป็นความไม่พอใจ ถ้ายังเป็นอย่างนี้นี่ชั้นโลกๆเลยนะ ต้องพัฒนาหน่อย ระวังเดี๋ยวจะตกชั้นเหลือแค่ กามโภคี..เฉยๆไม่ได้ชั้นเลิศด้วยนะจะบอกให้   หลายคนไม่ยอมรับคำสอนตรงๆของพระพุทธเจ้า พยายามหาสำนักที่สอนให้ฉันอยู่กับกามได้ แล้วก็บรรลุธรรมได้ อย่างนี้ล่ะถูกจริต ความจริงใครจะติดอะไรจะใช้อะไร จะเสพอะไร ใครจะไปว่าอะไรได้ล่ะ ก็เงินหามาได้เอง แต่หากได้เห็นความจริงบ้างว่าอะไรเป็นอะไร อะไรเป็นโทษเป็นทุกข์ เวลาใช้จะได้ไม่กระโดดลงไปทั้งตัวทั้งชีวิต จับของร้อนแตะๆก็พอ อย่ากำมันซะเต็มที่เลย   รู้ทั้งรู้แต่มันก็ยังอดไม่ได้ มันติดเหนียวแน่นไม่รู้จะทำยังไงดี "รู้หมด แต่อดไม่ได้"อันนี้ดีแล้ว ดีเพราะว่ารู้แล้วว่าอะไรถูกอะไรผิด อย่างนี้เป็นสัมมาทิฏฐิ คงจะมีสักวันหากเรามีความเพียรต้องทำสำเร็จได้ ดีกว่าพวก "คน ไม่รู้ แต่นึกว่าตัวเองรู้หมด" พวกนี้ไม่รู้แต่นึกว่าตัวเองรู้ แล้วบิดเบือนคำสอนและการปฏิบัติมาให้เข้าทาง(กิเลส)ตัวเองเท่านั้นเอง อย่างเป็นมิจฉาทิฏฐิ ไม่มีวันเข้าถึงอริยสัจ จนกว่าทิฏฐิจะเปลี่ยนไปสู่สัมมา