บุญกุศลและอานิสงก์ของมนุษย์

4 มี.ค. 55 / 1196 อ่าน

นัก ปฏิบัติทุกคนกว่าจะมาภาวนากันในวันนี้ได้ผ่านการทำบุญทานกันมามากมาย ได้ช่วยเหลือผู้อื่น ได้ร่วมกันสร้างสาธารณะประโยชน์ ได้สร้างเสนาสนะได้ในพุทธศาสนาเพื่อให้ผู้คนได้เข้ามาศึกษาปฏิบัติ วันนี้ด้วยความที่มนุษย์ทั้งหลายมุ่ง เน้นการให้ทานเพื่อประโยชน์ของผู้อื่น จิตใจที่ปรารถนาถึงความพ้นทุกข์ของผู้อื่น นี่จึงเป็นเครื่องขัดเกลากิเลสโดยเฉพาะในส่วนของโมหะ ซึ่งเป็นความหลงผิดในความเป็นตัวตน ส่วนโลภะนั้นแน่นอนเมื่อเกิดการให้ก็เกิดการแบ่งปัน มันเป็นการลดละขัดเกลาความตระหนี่ลงไป เมื่อจิตที่ตั้งไว้ไม่ใช่เพื่อตนเอง นั่นจึงทำให้อานิสงก็แห่งบุญนั้นจึงยิ่งใหญ่ และมนุษย์มีกายหยาบ มีทุกขเวทนามากกับกายหยาบนี้ไม่ว่าจะเวทนาอันเกิดจากความหิว จากความเหนื่อยยาก จากความทนทุกข์ด้วยโรคภัยไข้เจ็บ มนุษย์จะทำอะไรจึงต้องมีความเพียรมาก ซึ่งมากกว่าในภพภูมิที่มีกายละเอียดมีทุกข์น้อย หากมนุษย์ตั้งจิตเอาไว้ที่การสละออกซึ่งตัวตน อานิสงก์แห่งบุญจึงมากมายมหาศาล ในทางกลับกันในการวางแผนเพื่อทำบาปทำชั่วคน(ไม่ใช่มนุษย์) จึงต้องรับผลแห่งบาปมหาศาลเช่นกัน ดังนั้น -เมื่อทำบุญช่วยเหลือคนที่ตกทุกข์ได้ยากให้ตั้งจิตไว้ที่การช่วยคน อย่างน้อยทำให้เขาบรรเทาเบาคลายจากความทุกข์บ้างเท่าที่เราจะทำได้ ไม่ใช่ทำเพราะเราจะได้บุญ -เมื่อจะใส่บาตรก็มีความรู้สึกว่า อาหารที่เราได้ใส่ลงไปนั้นคงจะมีส่วนให้พระสงฆ์ท่านได้มีชีวิตสืบไปซึ่งนั่น จะส่งผลให้พระพุทธศาสนาได้ยาวนานออกไปและเป็นภาพที่ผู้ได้พบเห็นจะชื่นใจใน การให้ จะสืบสานสิ่งดีงามสืบต่อไปถึงลูกหลาน ไม่ใช่ทำเพราะเราจะได้บุญ -เมื่อสร้างเสนาสนะ ศูนย์ปฏิบัติธรรมหรือสาธารณสถานเช่นโรงพยาบาล ฯลฯ ก็ตั้งจิตว่าสถานที่เหล่านั้นจะยังประโยชน์ให้กับผู้คนได้พ้นไปจากทุกข์ทาง กายในโรงพยาบาลใจก็จะสบายขึ้น ได้พ้นจากทุกข์ทางใจในสถานปฏิบัติธรรมตั้งแต่ระดับสบายใจจนถึงขั้นหลุดพ้น ถึงที่สุด ไม่ใช่ทำเพราะเราจะได้บุญ ถ้าทำอย่างนี้การให้จะเป็นไปเพื่อให้ ไม่มีตรงไหนวกกลับมาเอา เมื่อเข้าห้องน้ำเสร็จล้างห้องน้ำให้สะอาดเพื่อให้คนอื่นได้ใช้ห้องน้ำที่ สะอาด ไม่ใช่ทำเพราะเราจะได้บุญ ทำที่บ้านทำที่ทำงาน ที่ไหนก็ได้เพราะทำให้คนอื่นได้ใช้ห้องน้ำสะอาด ไม่มีตอนไหนที่จะพูดว่า "ทำเพราะได้บุญ" บุญที่ได้คือเมื่อลดตัวตนลงตอนนั้นจึงเป็นบุญ เมื่อใจไม่ได้ทำเอาบุญไม่ได้หวังจะได้บุญนั่นจึงจะเป็นบุญนั่นจึงจะเป็นการ ให้ที่บริสุทธิ์ ส่วนเมื่อทำแล้วสบายใจ ก็ดีที่ทำแล้วสบายใจมีความสุข นั่นก็เป็นผลแห่งบุญ แต่ก็อีกนั่นแหละไม่ได้ทำเพื่อให้ใจสบายหรือมีความสุข ทำเพื่อช่วยคน คนที่เขากำลังลำบากเราไปช่วยให้เขาได้พ้นทุกข์คงไม่กล้าคิดที่จะไปแอบแฝงเอา ความสุขจากคนที่กำลังลำบาก ตั้งจิตให้ดีๆไม่อย่างนั้นทำไปก็เอาอีก ไม่ใช่พอไม่เอาบุญก็ไปแอบเอาสุขอีก จิตอาสานั่นน่ากลัวเพราะคนไปโปรโมทกันว่าทำแล้วมีความสุข วันไหนทำแล้วไม่สุขก็ไม่ทำ ถ้างานช่วยคนนั้นมันลำบากก็ไม่อยากทำ ตอบคำถามนี้ดูนะ ถ้า ท่านเป็นผู้ที่ต้องช่วยคนทุกๆวัน วันแรกๆท่านคงจะมีความสุขใจที่ได้ทำแต่หลังจากนั้นจากวันเป็นเดือนจากเดือน เป็นปี จากปีเป็นหลายๆปี ท่านคิดว่าท่านจะยังคงสุขเหมือนเดิมอยู่ไหม (นักปฏิบัติผู้เห็นอนิจจังก็จะเห็นถึงการเข้าสู่อุเบกขาในที่สุด) ถึงตอนนั้นคนทั่วไปจะมองว่าหมดความสุขจากการให้ จากการช่วยคนแล้ว ถามว่า จะยังทำอยู่อีกไหม? เพราะถ้าทำเพื่อตัวเองมีความสุข จะหมดแรงที่จะทำไม่อยากทำแล้วและยิ่งไปกว่านั้นถ้าทำแล้วตัวเองต้องลำบาก ล่ะ? จะทำไหม? การช่วยคนต้องทุ่มเททั้งกำลังกายกำลัง ใจ พลังสมองและพลังปัญญา เหนื่อยนะ..เพราะฉะนั้นต้องไม่ทำเพื่อตัวเองสุขและไม่เคยหวังอะไรจากการ กระทำแม้แต่จะบอกว่าทำแล้วตัวเราสบายใจก็ยังไม่มี แต่ทำเพื่อผู้อื่นพ้นทุกข์มากน้อยเท่าที่ทำได้ ไม่หยุดเพราะ "กูเหนื่อย กูพอแล้ว" แต่บางทีก็พักบ้างเพื่อเดินหน้าต่อไป.. เลิกทำเอาบุญ..เลิกไปทำบุญเพื่อตัวเอง..เมื่อนั้นจึงจะเป็นบุญ บุญนั้นจะเป็นเหตุปัจจัยให้ถึงซึ่งพระนิพพาน เพราะพระนิพพานนั้นไม่ได้ทำเพื่อพอกพูนตัวตน แต่ทำเพื่อหมดตน หมดตนก็จะทำเพื่อผู้ที่ร่วมเกิดแก่เจ็บตาย ผู้มีความทุกข์ได้พ้นจากทุกข์จนถึงที่สุดแห่งทุกข์นั่นแหละจะพ้นบุญ..แต่ไม่ หยุดทำบุญเพราะไม่ทำเอาบุญ บุญเต็มแล้ว..ก็พ้นไป